วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรคร้ายที่ควรพึงระวัง


โรคหลอดลมอักเสบติดต่อในสุนัข (Canine Infectious Tracheobronchitis)

      ลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดในโรคนี้คือ อาการไอแห้ง และลึก สุนัขจะแสดงอาการเหมือนมีอะไรติดคอ และพยายามจะขย้อนออกมา มักเกิดได้บ่อยในที่ที่มีสุนัขรวมกันมากๆ เช่น สถานเพาะพันธุ์สุนัข, โรงพยาบาลสัตว์, สถานรับเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ จึงมีชื่อเรียกทั่วไปว่า Kennel Cough โรคนี้ไม่มีความรุนแรงนัก แต่ทำให้เจ้าของสุนัขไม่สบายใจได้ เนื่องจากสุนัขจะไอบ่อย และถี่มาก อย่างไรก็ตาม โรคนี้จะเป็นอันตรายต่อสุนัข ในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาแล้วมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้สุนัขตายได้

    มีข้อควรระวังอยู่ว่า เมื่อสุนัขไอไม่ได้หมายถึง โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เสมอไป การวินิจฉัยแยกโรคต้องอาศัย อาการ และปัจจัยอื่นๆ มาประกอบกัน สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้สุนัขไอได้ เช่น โรคไข้หัด, การติดเชื้อพยาธิ, โรคที่เกิดจากรา และโปรโตซัว ฯลฯ

    สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

    เชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้มีความหลากหลายมาก อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรียหลายชนิดร่วมกัน หรือติดเชื้อชนิดเดียวก็ได้ ตัวอย่าง เช่น Parainfluenza virus, Adenovirus type II, Bordetella bronchiseptica bacteria โดยเชื้อจะเข้าสู่สุนัขทางการหายใจ

    อาการ

    กรณีที่เป็นเพียงเล็กน้อย อาการที่พบ คือ ไอแห้ง และลึก อาการขั้นต่อมา เชื้อโรคจะทำให้ไอลึกอย่างรุนแรง และมีน้ำมูก น้ำตาไหลด้วย สุนัขจะแสดงอาการเหมือนมีเศษอะไรติดคอ และพยายามขย้อนออก แต่ไม่มีอะไรออกมา การไอจะไอถี่ และกินเวลานาน

   ความรุนแรงของโรค

    โรคนี้ไม่มีความรุนแรงนัก แต่สามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว สุนัขปรกติจะไม่ตายจากโรคนี้ อย่างไรก็ตาม ต้องระวัง โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะตามมาเนื่องจากภูมิคุ้มกันของสุนัขลดลง โรคเหล่านี้อาจทำให้สุนัขตายได้ เช่น ปอดบวม, โรคไข้หัด ฯลฯ

    การรักษา

    เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มีชนิด ถ้าโรคเกิดจากแบคทีเรีย การรักษาจะได้ผลเมื่อให้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าเกิดจากไวรัส ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลดี ต้องคอยรักษาตามอาการ จนกระทั่ง ระบบภูมิคุ้มกันของสุนัขสามารถขจัดเชื้อออกไปได้เอง ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ แต่สัตวแพทย์อาจให้ยาบรรเทาอาการไอ เพื่อลดอาการระคายเคืองที่จะเกิดขึ้น และทำให้สุนัขเงียบลงไปได้บ้าง

    การป้องกัน

    1) นำสุนัขไปหยอดวัคซีนป้องกันโรคนี้เข้าทางจมูก

    2) จัดที่อยู่ของสุนัขให้สะอาด และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และควรทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการทำลายไวรัส และแบคทีเรีย

    3) กรณีที่สุนัขต้องไปอยู่ในที่ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ควรให้วัคซีนป้องกันไว้ก่อน

โรคขี้เรื้อยเปียก

    ปัญหาสุขภาพของสัตว์เลี้ยงบางเรื่องสร้างความท้อใจให้ผู้เลี้ยงอย่างที่คาด ไม่ถึงครับ เนื่องจากเวลาเราซื้อสุนัขมาเลี้ยง หรือคนอื่นยกให้ก็ตาม ผู้เลี้ยงใหม่มักไม่ทราบว่าอาจมีโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นแล้วรักษายากติดตัว สุนัขมาด้วย เมื่อเค้าป่วยและได้รับการตรวจวินิจฉัยแล้ว

    โรคเรื้อนเปียก หรือโรคเรื้อนในรูขุมขน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากไร เป็นปรสิตภายนอกที่อาศัยในรูขุมขนของสุนัข ปรกติแล้วไรขี้เรื้อนเปียกสามารถขูดพบได้ในหมาตัวที่ปรกตินะครับ เพียงแต่โอกาสที่เจอนั้นน้อย และไม่อยู่ภาวะที่ก่อให้เกิดรอยโรคได้ กลไกในการเกิดที่ว่านี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เท่าที่ค้นคว้าในปัจจุบันระบุว่าหมาตัวที่ป่วยเป็นโรคนี้มีความผิดปรกติของ เม็ดเลือดขาวชนิด T - cell และยังมีระดับของอินเตอร์ลิวคิน-2
ต่ำกว่าหมาปรกติ เจ้าสารอินเตอร์ลิวคิน-2 เป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายของสุนัขมีอยู่ทุกตัว มันทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน

เพราะเมื่อสารนี้หลั่งออกมาจะเกิดการกระตุ้นให้มีการเพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกัน เพิ่มระดับการทำงาน เพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกัน
แต่ถ้าสารที่ว่านี้ลดต่ำลงเมื่อใด เจ้าไรขี้เรื้อนในรูขุมขนจะเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น และตัวมันเองยังเป็นตัวการสำคัญที่จะผลิตสารชีวเคมีซึ่งทำให้เกิดปัญหาการกด เซลล์ภูมิคุ้มกันด้วย
คราวนี้เลยมีช่องทางให้เจ้าเชื้อโรคเพื่อนเกลอ คือแบคทีเรียเข้ามาร่วมก่อเสียหายด้วย สุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนเนื้อตัวจึงเละตุ้มเป๊ะในพื้นที่เกิดรอยโรค

อาการของโรคเรื้อนเปียกมีหลายรูปแบบ

อาการเรื้อนเปียกแบบเฉพาะที่ มักพบที่บริเวณแก้ม เหนือคิ้ว ขาหน้า โดยหมามีขนร่วง ผิวหนังแดง คันและเกา มีแผลอักเสบเป็นตุ่มแดงๆ เล็กๆ ตามปรกติแล้วรอยโรคจะเกิดขึ้นเอง และจะหายไปเองได้ภายใน 3-8 สัปดาห์

แต่ถ้ามีอาการอักเสบมีตุ่มหนองด้วยต้องรีบพาสุนัขมารับยารักษาอย่างต่อ เนื่องจนกว่าจะหาย ตามปรกติแล้วมีสุนัขประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกแบบเฉพาะที่ แล้วพัฒนาเป็นแบบกระจายตัวทั่ว

เจ้าของควรหมั่นพาสุนัขของท่านไปตรวจรักษาตามที่สัตวแพทย์แนะนำครับ
อาการเรื้อนเปียกแบบกระจายเป็นบริเวณกว้าง มักพบว่าหมาตัวที่เป็นมีการอักเสบของผิวหนังรุนแรงมาก มีขนร่วง มีตุ่มหนองแตกออก เป็นแผลคันเกา รอยโรคพบได้ตั้งแต่ส่วนของใบหน้า ลำตัว ขา และเท้า เรียกว่ามีอาการอักเสบของรูขุมขนจนมีเลือดออก มีหนองไหลแตกออกมาจากตุ่มที่ติดเชื้อนั้นล่ะครับ

รอยโรคที่เป็นแล้วถือว่ารุนแรงและรักษาได้ยาก คือ เมื่อเป็นทั่วตัวแล้ว เกิดการอักเสบมากที่ผิวหนังส่วนของเท้า สุนัขที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกที่ลามลงไปถึงที่เท้านั้นมีอาการเท้าบวม เป็นตุ่มเลือดแตกออก กระจายไปทั่วเท้าซึ่งสัตว์จะทรมาน เจ็บปวดมากทีเดียว

การตรวจวินิจฉัย 

     โรคเรื้อนเปียกจำเป็นต้องพาสุนัขไปตรวจ เพื่อให้คุณหมอขูดเอาผิวหนังส่วนที่ลึกถึงชั้นรูขุมขนไปตรวจ เมื่อเก็บตัวอย่างผิวหนังได้ สัตวแพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องตรวจดูตัวอย่างของผิวหนังซึ่งอาจจะเป็น หนองหรือเลือด เวลาพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกมักสังเกตเห็นตัวเรื้อนในตัวอย่างของ ผิหนัง ว่ามีมากมายหลายตัวและกำลังอยู่ในภาวะที่เพิ่มจำนวนขึ้น เช่น พบตัวเรื้อนตัวแก่ ตัวอ่อน พบไข่ อย่างนี้ล่ะครับที่เรียกว่ากำลังสร้างปัญหาสุขภาพให้สุนัขอย่างมาก
การรักษา เรื่องนี้ล่ะครับเป็นปัญหา อย่างที่ทราบกันดีว่า
โรคนี้เป็นโรคผิวหนังที่ต้องใช้เวลารักษานานมาก
ยิ่งในรายที่เป็นแบบกระจายไปทั่วตัว บางรายอาจต้องให้ยานานกว่า3-8เดือนและต้องได้รับการตรวจเป็นระยะ อย่างเช่น สุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกแบบกระจายไปทั่วตัว และเป็นที่ฝ่าเท้านั้น ใช้เวลารักษานานและต้องให้ยาอย่างต่อเนื่อง ท่านอาจถามต่อว่าโรคนี้หายขาดไหม แต่เดิมเชื่อกันว่า รักษาไม่หาย

ปัจจุบันยารักษามีประสิทธิภาพดีขึ้น สุนัขป่วยเป็นเรื้อนเปียกแบบกระจายทั่วตัวมีโอกาสหายขาดได้ จะมีในบางรายเท่านั้นที่ต้องให้ยาควบคุมไปตลอด และมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกหลังจากหยุดให้ยา เมื่อสุนัขรับยาจนไม่มีอาการผิดปรกติอะไรแล้ว ต้องพาสุนัขมาขูดผิวหนังตรวจซ้ำอีกครั้ง ว่ามีตัวเรื้อนเปียกอีกหรือไม่ในรอยโรคเดิม ซึ่งต้องขูดตรวจอย่างน้อย 5 จุดของร่างกายเพื่อให้ผลยืนยันได้อย่างชัดเจน ถ้าขูดผิวหนังตรวจแล้วไม่พบ หลังจากที่หยุดยานานกว่า 2 เดือนนั่นแสดงว่าสุนัขหายจากโรคนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม สุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกเจ้าของต้องหมั่นพาไปตรวจร่างกายครับ แต่ถ้าเริ่มมีตุ่มคล้ายสิวขึ้นแบบกระจายตัว ขนเริ่มร่วง และสุนัขคันเกาต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

โรคขี้เรื้อยแห้ง

       ปัญหาที่มักถามกันมากก็คือ เจ้าตูบแสนรักจะไปติดโรคนี้ได้อย่างไร ทั้งๆ ที่เลี้ยงอยู่แต่ในบ้าน เหตุที่ว่า  เกิดได้จากการเล่น สัมผัสและคลุกคลีกับตัวที่ป่วยเข้าจนเกิดการถ่ายทอดเจ้าไรตัวนี้ต่อกันไป ที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของสภาพแวดล้อมครับ ในบ้านเมืองของเรามีสุนัขจรจัดเยอะ เรียกว่าเดินไปตรอกไหน ซอกไหน ซอยไหนมีอันต้องได้เจอ
นี่เองแหละครับที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้เร็วและต่อ เนื่อง สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการคันมาก และเมื่อคันเกาบริเวณที่เป็นรอยโรคจะมีชิ้นส่วนของสะเก็ดผิวหนังที่ปลิว กระจายล่วงออกมาจากตัวสุนัข หากสุนัขอีกตัวไปนอนทับหรือเกลือกกลิ้งย่อมมีโอกาสจะติดเชื้อ จนอาจป่วยเป็นโรคเรื้อนแห้งได้ เนื่องจากเจ้าไรขี้เรื้อนนี้มีชีวิตได้นานกว่า 2 วัน

เมื่อหลุดร่วงจากผิวหนังของสุนัขตัวที่ป่วยยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะไปติดต่อกับ สุนัขตัวอื่นได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นถึงแม้ท่านไม่ได้พาสัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้าน แต่ถ้าสุนัขของเราชอบนอนใกล้รั้วบ้าน และหากรอบๆ บ้านมีสุนัขจรจัดตัวที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้งอาศัยอยู่ ย่อมมีโอกาสติดโรคได้เช่นกันครับ

อาการของสุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้ง 

   เริ่มต้นจะมีอาการคันตัว คันที่ขอบใบหูทั้งสองข้างและคันที่ศอกด้านข้าง ถ้าสังเกตให้ดีจะพบเม็ดตุ่มแดงๆ ขึ้นที่ผิวหนัง บริเวณที่เห็นชัดเจนมักเป็นที่ท้อง หรือบริเวณขาหนีบ และบั้นท้าย จากนั้นจะเริ่มมีอาการคันรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งขนบนตัวสัตว์เริ่มร่วง ตำแหน่งที่พบชัดเจน คือที่ขอบใบหูสองข้าง และศอกด้านข้าง ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเริ่มเป็นสะเก็ดแผลที่หนาตัวขึ้น เมื่อแผลนั้นเริ่มแตกออกมากขึ้นเรื่อยๆ อาการขนร่วงจะค่อยๆ แพร่กระจายไปทั่วตัว ทีนี้สะเก็ดแผลบนผิวหนังจะเริ่มเกิดขึ้นทั่วตัวเช่นกัน เจ้าสุนัขหนังกลับที่เราเห็นข้างถนนนั่นล่ะครับ คือสุนัขที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้ง

การตรวจวินิจฉัย 

  ในเบื้องต้นเราควรสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงของเราเองก่อนครับ ซึ่งการทดสอบที่ได้ผลค่อนข้างแม่นยำในการตรวจโรคนี้ เรียกว่า การทำ Pinna-pedal reflex test การทดสอบทำได้ง่ายมาก เวลาที่สุนัขป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้งจะมีตำแหน่งที่คันมากๆ อยู่ 2 จุดดังที่กล่าวมา คือที่ปลายใบหูสองข้างนั้น และที่ข้อศอกด้านข้าง ถ้าเราจับสุนัขมาทดสอบโดยการเอานิ้วมือขยี้ที่ปลายใบหูเบาๆ แล้วสุนัขเอาเท้าหลังข้างนั้นเกาที่ศอกด้านนั้น

ก็น่าสงสัยครับว่าทำไมสุนัขของเราถึงคันได้ เพราะอาการดังกล่าวแสดงว่าสัตว์คันมากที่ปลายใบหู และที่ศอกด้วย และโรคผิวหนังที่จะเกิดขึ้นได้มีไม่กี่โรคหรอกครับ ที่สำคัญคือโรคขี้เรื้อนแห้งนี่แหละครับ แต่การที่เราจะสรุปปัญหาการป่วยว่าใช่โรคขี้เรื้อนแห้งหรือไม่นั้น

คงต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรอยโรคที่ปรากฏ การทดสอบทำ Pinna-pedal reflex test การขูดผิวหนังเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาตัวไรขี้เรื้อน ทุกอย่างจะสอดคล้องกันแม้ว่าการขูดผิวหนังเพื่อหาไรขี้เรื้อนอาจจะไม่พบ เพราะถ้าอยู่ในระยะเริ่มต้นมักจะขูดผิวหนังไม่พบเสียด้วยซิครับ
การรักษาโรคขี้เรื้อนแห้ง สามารถทำได้หลายวิธีครับ ที่นิยมกระทำ คือ การให้ยาโดยการฉีดเพื่อรักษา ซึ่งได้ผลดีแต่ก็ต้องทำซ้ำทุกๆ 10-14 วันครั้งจนกว่าสุนัขจะหายสนิท ในกรณีที่เราเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว

เราต้องพาสัตว์เลี้ยงทุกตัวมารับการรักษาด้วย เพราะโรคนี้ติดต่อได้ง่ายและติดต่อได้ไวมาก ถ้าเราไม่สนใจนำสุนัขมารับการรักษาพร้อมๆ กันจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัข เพราะเมื่อตัวที่เป็นหาย ตัวที่ได้รับเชื้อจะเริ่มแสดงอาการอีก และถ้ายาเสื่อมฤทธิ์เมื่อไหร่ สุนัขจะเริ่มมีอาการป่วยอีกเช่นกัน เจ้าตัวที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้งนั้นมีความน่ารังเกียจอยู่แล้วครับ

โรคนี้ติดต่อจากการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่ป่วยอยู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้นเมื่อท่านทราบว่าสุนัขของเราป่วยเป็นโรคนี้ ควรหยุดกอดและคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงไว้ก่อน โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ผิวค่อนข้างบอบบาง ควรหยุดกอดรัด หรืออุ้มเจ้าตัวน้อยเลยครับ โรคที่ติดมาสู่คนนั้นจะมีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มแดงๆ ขึ้นบนผิวหนัง มีอาการคัน และกระจายออกไปได้ ซึ่งถ้ามีอาการเช่นนี้ให้รีบไปหาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงทีครับ

โรคนิ่วในสุนัข (หมา)

    โรคนิ่ว จะเรียกภาวะรวมถึงการมีก้อนนิ่ว หรือมีปริมาณของ Crystal ในระบบทางเดินปัสสาวะ
ซึ่งโรคนิ่วมักจะสัมพันธ์กับโรค หรืออาการในระบบทางเดินปัสสาวะต่างๆเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
( Cystitis ) ท่อปัสสาวะอักเสบ ( Urethritis) นิ่วในไต ( Kidney Stone ) นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
( Bladder Stone ) เช่นเดียวกับในคน 
      นิ่วสามารถเกิดได้ในทุกส่วนของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยนิ่วที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ ดังกล่าวจะระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดความเจ็บปวด ในบางกรณีก้อนนิ่วอาจขวางทางเดินปัสสาวะ ให้เกิดปัสสาวะขัด
หรือปัสสาวะด้วยความเจ็บปวด และปัสสาวะไม่ออก จนทำให้กระเพาะปัสสาวะแตกซึ่งเป็น
อันตรายถึงตายได้นิ่วชนิดต่างๆที่พบได้มากในสุนัข

Magnesium Ammonium Phosphate (struvite

  เป็นนิ่วชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในสุนัข โดยมาก
มักเกิดสัมพันธ์กับการเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โดยแบคทีเรียชนิดที่เปลี่ยนยูเรียในปัสสาวะให้กลายเป็น Ammonia และอยู่ภายใต้สภาวะ
แวดล้อมที่เป็น ด่าง มีความอิ่มตัวของสารที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ และการมีโภชนาการที่ไม่เหมาะสม
ซึ่งสภาพเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดนิ่วที่มี Struvite และกลุ่มของ Calcium Phosphate
(Carbonate และ Hydroxyl Form) ได้

Calcium Phosphate

       เป็นนิ่วที่มักเกิดกับสุนัขที่มีอาการเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเมตาโบลิซึม หรือเกิดร่วมกับภาวะเช่นเดียวกับนิ่วชนิด Struvite

Calcium Oxalate

       เป็นนิ่วที่พบได้น้อยในสุนัข (แต่พบมากในคน) การเกิดนิ่วชนิดนี้เป็นผลตามมาจากความผิดปกติที่ทำให้เกิดการตกตะกอนของ Calcium Oxalate ในปัสสาวะที่มักอยู่ในสภาวะที่เป็น กรด ซึ่งมีกลไก
ในการเกิดที่ยังไม่ชัดเจน

Urate

       เป็นนิ่วที่พบได้มากที่สุดในสุนัขพันธุ์ดัลเมเชี่ยน นอกจากนั้นยังพบในพันธุ์อื่นๆในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า
มาก การเกิดนิ่วชนิดนี้ในสุนัขพันธุ์ดัลเมเชี่ยน เนื่องมาจากความผิดปกติของสุนัขพันธุ์นี้ที่ไม่สามารถกำจัด  Uric Acid ไปเป็น Allantoin ซึ่งเป็นสารที่ละลายได้ในปัสสาวะ โดยนิ่วชนิด Urate นี้มักเกิดในสภาวะของปัสสาวะที่เป็น กรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินอาหารที่มีปริมาณของโปรตีนสูง หรืออาหารที่มีปริมาณของ Urate มาก เช่น เครื่องในไก่ ก็จะยิ่งโน้มนำให้เกิดนิ่วชนิดนี้มากขึ้นนิ่วชนิดอื่นๆ (มีอุบัติการณ์เกิดที่ต่ำมาก)- Silica- Cystine- ตะกอนของยาบางชนิด- ฯลฯ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคนิ่วในสุนัข

- ปัสสาวะ เป็นสารละลายของสารหลายชนิด ประกอบด้วยสารที่สามารถยับยั้ง และสารที่โน้มนำให้เกิด
นิ่วได้
- การสืบประวัติของการให้อาหารสุนัข ในการวินิจฉัยสุนัขที่เป็นโรคนิ่วจะช่วยสามารถระบุสาเหตุ
ชนิดของนิ่ว ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกันการเกิดนิ่วใหม่ได้
- การตรวจ Crystal ของสารต่างๆในปัสสาวะจากการส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมีส่วนช่วยในการ
วินิจฉัยถึงชนิดของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนั้น ยังช่วยในการประเมินภาวะในระหว่างการรักษา
และหลังการรักษาได้เช่นกัน
- แม้ว่าความสัมพันธ์ของการพบ Crystal ในปัสสาวะ และการเกิดนิ่ว ยังไม่เฉพาะเจาะจงนักก็ตาม
อย่างไรก็ตามการพบ Crystal ของสารประกอบชนิดต่างๆในปัสสาวะก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเกิดการตกผลึก
(ความเข้มข้นของสารมากเกินการละลายได้) ในปัสสาวะขึ้นแล้ว
- นิ่วชนิด Urate มักมองไม่เห็นจากภาพ x-ray แม้จะพบว่ามีนิ่วจำนวนมากอุดตันอยู่ตลอดท่อทางเดิน
ปัสสาวะก็ตาม

ภาวะท้องมาน(ascites)






คือภาวะผิดปกติของเหลวสะสมคั่งค้างอยู่ในช่องท้อง
ภาวะท้องมานถูกจัดรวมอยู่ในภาวะบวมน้ำ(Edema)

ภาวะบวมน้ำ(Edema)

คือภาวะที่มีของเหลวปริมาณมากกว่าปกติคั่งค้างสะสมอยู่ในระหว่างเซลล์,เนื้อเยื่อ,ส่วนต่างๆของร่างกาย การเรียกชื่อที่เเบ่งย่อยออกไป จะเรียกตามส่วนที่เกิดการคั่งค้างของของเหลว
เช่นของเหลวสะสมคั่งค้างที่ช่องอกเรียกว่าไฮโดรธอเเรกซ์(hydrothorax)
ของเหลวสะสมคั่งค้างที่หัวใจเรียกว่าไฮโดรเพอริคาร์เดีม(hydropericardium)
ของเหลวสะสมคั่งค้างอยู่ในช่องท้องเรียกว่าท้องมาน(ascites,hydroperitoneum)
การรักษาภาวะบวมน้ำนั้นต้องรักษาที่ต้นเหตุของการเกิดภาวะ

ปัจจัยการเกิดบวมน้ำมี4ปัจจัยใหญ่ๆคือ

1.ในหลอดเลือดปกติจะมีเเรงชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเเรงในการดึงของ เหลวเอาไว้ไม่ให้ของเหลวนั้นออกจากหลอกดเลือดไว้ได้เรียกว่าเเรงดันออสโมซิส
หากว่ามีความผิดปกติคือร่างกายมีเเรงดันมากกว่าเเรงดันออสโมซิสที่จะดึงของ เหลวไว้ให้อยู่ในหลอดเลือดไว้ได้ ของเหลวในหลอดเลือดจะหลุดออกมาคั่งค้างในร่างกายทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้
หรือในกรณีที่มีการอุดตันของเส้นเลือด หรือเกิดการอุดตันของเส้นเลือด
ยกตัวอย่างให้ง่ายน่ะครับ
เราเอาถุงพลาสติกที่เจาะรูที่ถี่มาก ให้ถุงนั้นเหมือนเส้นเลือด เเล้วเอาเทปใส่ปิดรูพวกนั้นไว้เปรียบเหมือนเเรงดันออสโมซิส หากเราใส่น้ำเข้าไปในถุงนั้น
หากว่าเเรงน้ำที่ใส่ไปมีความเเรงมากจนทำให้เทปใส่นั้นรับเเรงดันน้ำไม่ไหวก็จะทำให้น้ำออกมา
หรือหากเราเอาอะไรมากั้นทางเดินของน้ำเปรียบเหมือนเส้นเลือดอุดตัน เมื่อมีน้ำไหลผ่านมากๆก็จะทำให้เกิดการไหลออกของน้ำได้

2.โปรตีนที่อยู่ในหลอดเลือดนั้นจะมีผลต่อเเรงดันออสโมซิส
โดยเฉพาะโปรตีนพวกอัลบูมิน(Albumin)ซึ่งพบในไข่(Ovalbumin) ในนม(Lactalbumin) เป็นส่วนใหญ่
หากเกิดการสูญเสียโปรตีนหรือโปรตีนต่ำ จะมีผลต่อเเรงดันออสโมซิสต่ำลงด้วย ทำให้ของเหลวนั้นออกจากหลอดเลือดได้ง่าย
ตัวอย่างที่ทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีนนอกร่างกายเช่นโรคไต(Renal edema) ภาวะการขาดสารอาหาร(Debilitation edema)
เราอาจเปรียบโปรตีนโดยเฉพาะพวกอัลบูมินเหมือน จำนวนเทปใส่ปิดถุงพลาสติกได้ครับ

3.การเกิดการเปลี่ยนเปลงคุณสมบัติหลอดเลือดเช่น การเกิดอุบัติเหตุได้รับการกระทบกระเทือนถึงหลอดเลือด หลอดเลือดเกิดการอักเสบจนไปปิดทางเดินเลือด เป็นต้น

4.การขัดขวางการไหลผ่านของขอน้ำเหลือง(Lymphatic obstruction)
ในกรณีความผิดปกติต่างๆของท่อน้ำเหลืองเช่นการเกิดเนื้องอกที่มาถึงท่อน้ำ เหลือง,การบวม-การอักเสบจนไปปิดท่อน้ำเหลือง ทำให้น้ำเหลืองนั้นหลุดออกจากเส้นเลือดได้)

โรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข

     ชีพจักรของพยาธิหนอนหัวใจของสุนัขเริ่มต้นเมื่อสุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งจะมีตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจอยู่ในกระแสเลือด (microfilariae)
ถูกยุงดูดกินเลือด ทำให้ยุงได้รับเอาตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจไปด้วยเมื่อดูดกินเลือดสุนัขป่วย เป็นอาหารหลังจากนั้นตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจจะใช้ระยะเวลาภายหลังจากถูก ดูดกินจากตัวสุนัข
ประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อในตัวยุงเมื่อยุ่งมีการดูดกินเลือดของสุนัขอีกครั้ง
โดยเฉพาะสุนัขที่มีสุขภาพปกติ (ไม่ได้ป่วยเป็นโรค)

ยุงจะมีการถ่ายเทตัวอ่อนระยะติดต่อที่ได้มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้วในยุงไปยังสุนัขอีกตัวหนึ่ง
จากนั้นตัวอ่อนระยะติดต่อจะชอนไชไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของสุนัข
และเจริญเติบโตต่อไปอีก 2-3
เดือนและพัฒนาเป็นตัวแก่ในที่สุดในหัวใจของสุนัขตัวใหม่ เมื่อตัวพยาธิอยู่ในหัวใจของสุนัข
และมีการเจริญเติบโตในหัวใจของสุนัข มันจะมีขนาดยาวประมาณ 14 นิ้ว
และทำความเสียหายให้กับเนือ้เยื่อหัวใจ
เนื้อเยื่อปอดและอวัยวะที่สำคัญอื่นๆ ถ้าสุนัขป่วยไม่ได้รับการรักษา
การพัฒนาของโรคจะมีความรุนแรงมากขึ้นและที่สุดสุนัขจะตายได้
คำถาม คำตอบที่มักจะพบเสมอๆ จากเจ้าของสุนัข

"สุนัขสามารถเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้หรือไม่"

สุนัขสามารถป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ ไม่ว่าสุนัขจะอาศัยอยู่นอกบ้าน
หรือแม้แต่ภายในบ้านตลอดเวลา สุนัขสามารถติดโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ด้วยยุง
โดยเฉพาะยุงตัวเมียที่ต้องกัดกินเลือด
ยุงจะเป็นพาหะนำพยาธิระยะติดต่อมาสู่สุนัข ยุงเพศเมียเป็นแมลงขนาดเล็ก
จึงสามารถผ่านเข้าอ่อนช่องหน้าต่าง ประตูบ้าน หรือรูต่างๆ
เข้ามาภายในบ้านได้
สุนัขทุกตัวจึงมีโอกาสติดและป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ทุกตัว
แม้ว่าจะอยู่ในบ้านก็ตาม ถ้ายุงที่กัดมีเชื้อพยาธิอยู่
ดังนั้นในบริเวณที่มีตัวกักโรค(สุนัขที่ป่วยและไม่ได้รับการรักษา)จะเป็นตัวแพร่เชื้อให้กับสุนัข
หรือแมวตัวอื่นๆ
หรือทำให้สัตว์ตัวอื่นอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการติดโรคพยาธิหนอนหัวใจ

"จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจแล้ว"

การที่จะทราบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจหรือไม่
มีหนทางเดียวคือนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคนี้
การตรวจมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งวิธีที่ง่ายจนถึงวิธีการที่มีขั้นตอนซับซ้อน
แต่ทั้งนี้ก็ใช้เวลาไม่มากก็สามารถทราบผลได้ แต่ไม่ควรรอที่จะตรวจร่างกาย
โดยเฉพาะในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคนี้มากพอสมควร โดยเฉพาะในเขตชุมชน
กรณีที่ทราบว่าสุนัขป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจแล้ว สามารถให้การรักษาได้
แต่การรักษายังไม่ถือว่าปลอดภัยสำหรับการรักษาได้อย่าง 100 เปอร์เซ็นต์
เนื่องจากผลข้างเคียงภายหลังจากการรักษา
รวมทั้งยาที่ใช้ในการรักษามีราคาค่อนข้างแพง

"เมื่อไหร่จึงควรนำสุนัขไปตรวจว่าเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจหรือไม่"

ยุงคือพาหะของโรคนี้ ยุงที่เป็นพาหะสามารถพบได้ตลอดเวลา
ดังนั้นสุนัขมีโอกาสติดโรคได้ตลอดเวลา
เวลาที่เหมาะสมที่จะต้องนำสุนัขไปตรวจการป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์
"จะสามารถป้องกันสุนัขไม่ให้ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจได้อย่างไร"<

ถ้าผลการตรวจพบว่าสุนัขไม่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ
การป้องกันโรคนี้ก็จะทำได้ง่ายๆ
ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
ด้วยการจัดโปรแกรมการฉีดยาป้องกัน หรือการกินยาป้องกัน
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำไว้เสมอ ก่อนที่จะใช้โปรแกรมการป้องกันใดๆ
ต้องนำสุนัขไปตรวจการติดเชื้อเสียก่อน

โรคแท้งติดต่อในสุนัข

สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Brucella canis (B. canis) อาจเรียกสั้น ๆ ว่าโรคบรู

    อาการของโรค :

    1. ก่อปัญหาความไม่สมบูรณ์ในพ่อและแม่พันธุ์
    2. ผสมไม่ติด
    3. ถ้ามีการตั้งท้อง ก็มักจะแท้งหลังจากการตั้งท้อง ประมาณ 45 วันขึ้นไป
    4. อาจแท้งออกมาหมดทุกตัว หรือ รอดเป็นบางตัว (แต่ลูกที่คลอดออกมามักจะตายใน 1 สัปดาห์แรกหรือ ตายก่อนหย่านม)
    5. ในเพศเมีย อาจมีหนองไหลออกจากช่องคลอดได้
    6. ในเพศผู้ ......
    6.1. ผสมไม่ติด
    6.2. อัณฑะบวมขยายใหญ่ ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
    6.3. อาจมีการบวมขยายใหญ่ของต่อมน้ำเหลือง หรือต่อมลูกหมาก หรือฝ่อเมื่อติดเชื้อเป็นเวลานาน
    6.4. น้ำเชื้ออสุจิจะมีคุณภาพไม่ดี

    การติดต่อ :

    1. ผ่านทางเยื่อเมือกทุกส่วนของร่างกาย น้ำจากช่องคลอด , น้ำนม , น้ำคล่ำ , เนื้อเยื่อลูก, รกที่แท้ง ออกมา , น้ำอสุจิ , ปัสสาวะ, พื้นคอก พื้นบ้าน , อาหาร ,น้ำ ดังนั้นสุนัขที่เลี้ยงรวมกันหรือเลี้ยงปล่อย ก็มีโอกาสสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้
    2. ติดต่อจากการ ** ผสมพันธุ์  **

    การวินิจฉัยโรค : ควรนำสุนัขไปหาสัตวแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป

    ความสำคัญของโรคแท้งติดต่อ :

    1. สามารถติดต่อมาสู่คนได้ (zoonosis) *** กับผู้เลี้ยงที่ใกล้ชิดและดูแลสุนัข
    2. ติดต่อไปยังสุนัขตัวอื่น ๆ ในฟาร์มเดียวกัน หรือฟาร์มที่เกี่ยวข้องกัน กลายเป็นปัญหาแพร่ระบาด ยากต่อการควบคุม

  การป้องกันและควบคุมโรคแท้งติดต่อ

    1. เป็นโรคที่ไม่มียารักษา และไม่มีวัคซีนในการป้องกัน
    2. ควรตรวจเลือดพ่อ แม่พันธุ์ สุนัขอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน
    3. ตรวจเลือดก่อนทำการผสมพันธุ์ทุกครั้ง สำหรับพ่อแม่พันธุ์
    4. สุนัขตัวใหม่ที่เข้าฟาร์ม ควรแยกเลี้ยงต่างหากก่อน และทำการตรวจหาเชื้อ อย่างน้อย 2 ครั้ง
    5. ห้ามจำหน่ายสุนัขที่เป็นโรคแท้งติดต่อ ไปยังฟาร์ม อื่น ๆ เพราะจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค

    ถ้าพบสุนัขที่เป็นโรคแท้งติดต่อ ควรจะ ......

    1. ฉีดยาให้หลับ
    2. ทำหมัน แล้วแยกเลี้ยงต่างหากไม่ให้สัมผัสกับสุนัขตัวอื่น
    3. ตรวจสอบสุนัขทุกตัวที่คลุกคลีด้วยกันเป็นเวลา 3 เดือน ติดต่อกัน จนไม่พบเชื้อ




1 ความคิดเห็น:

  1. มีโรคยอดฮิตเกี่ยวกับสุนัขคือโรคหวัดและหลอดลมอักเสบ ลองสังกตุอาการอาจจะมีอาการหวัดจะมีน้ำมูกใส และอึดอัดหายใจลำบาก

    ตอบลบ